Covid-19 testing service
บริการตรวจหาเชื้อโควิด-19
มีแบบรายการตรวจ 3 วิธี ดังนี้
บริการตรวจหาเชื้อโควิด-19
Rapid Antigen Test
แบบ Swab จมูก แม่นยำใกล้เคียง PCR และมีราคาที่ถูกกว่ากันมาก ระยะเวลารอผล 2-3 วัน
Rapid Antigen Test
การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วย Rapid Antigen Test คืออะไร
เป็นการ Swab (เก็บตัวอย่างเชื้อบริเวณลำคอ และหลังโพรงจมูก)ตรวจทดสอบเพื่อหาเชื้อเบื้องต้น สามารถตรวจได้สะดวกและทราบผลได้รวดเร็ว ผู้ตรวจสามารถรอผลตรวจได้ภายใน 2-3 ชั่วโมง (ระยะเวลาอาจเพิ่มขึ้นตามจำนวนผู้ใช้บริการตามสถานพยาบาลนั้นๆ) การตรวจแบบ Rapid Antigen Test เพื่อให้ผู้ติดเชื้อรู้ตัวและเข้าสู่กระบวนการกักตัวเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ อย่างไรก็ตามยังคงเป็นเพียงการตรวจเบื้องต้น ควรตรวจด้วยวิธี RT-PCR ร่วมด้วยเพื่อความแม่นยำหากมีผลเป็นบวก หรือมีอาการ
อาการที่เข้าข่ายว่าควรตรวจโควิด 19 ด้วย Rapid Test คืออะไร?
อาการโดยทั่วไปที่พบ อาการอื่นที่อาจพบได้
ไข้ เจ็บคอ
ไอ ปวดหัว
อ่อนเพลีย มีน้ำมูก
หายใจติดขัด ท้องเสีย
ปวดเมื่อยตัว
หนาวสั่น
สูญเสียการดมกลิ่นหรือรับรส
อาการของ COVID-19 มักจะปรากฎภายใน 2-14 วันหลังจากที่ได้รับเชื้อ ในบางเคสอาจมีอาการน้อยจนถึงขั้นไม่มีเลย แต่ความน่ากลัวคือ แม้ว่าผู้ติดเชื้อจะไม่แสดงอาการใดๆ แต่ไม่ได้หมายความว่าเชื้อโควิด 19 จะไม่แพร่ไปสู่คนที่พวกเขารัก
ใครบ้างควรตรวจโควิด 19
กรมควบคุมโรคได้แบ่งกลุ่มเสี่ยงอย่างคร่าวๆ ออกเป็น 3 กลุ่ม
1. กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง:
กลุ่มนี้คือกลุ่มที่อยู่ใกล้ผู้ป่วยโดยไม่ใส่หน้ากากอนามัย ซึ่งมีการพูดคุยกันเกิน 5 นาที ในสถานที่อากาศไม่ถ่ายเทในระยะ 1 เมตร เกิน 15 นาที
ข้อแนะนำคือ: ควรตรวจหาเชื้อและกักตัว 14 วัน
2. กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ:
กลุ่มนี้คือกลุ่มที่อยู่ใกล้ผู้ป่วย โดยมีการใส่หน้ากากอนามัยป้องกัน หรือกลุ่มคนที่อยู่ห่างจากผู้ป่วยมากกว่า 1 เมตร
ข้อแนะนำคือ: ควรเฝ้าสังเกตอาการ 14 วัน
3. กลุ่มที่ไม่เสี่ยง:
กลุ่มนี้คือคนที่อยู่ไกลกันมากๆ เช่น คนละชั้น หรือ คนละห้อง
ข้อแนะนำคือ: ดูแลตัวเองให้ดี ใส่หน้ากากอนามัย และล้างมือบ่อยๆ
หมายเหตุ: ความเสี่ยงจะสูงขึ้นเมื่อ ไม่ใส่หน้ากากอนามัย อยู่ใกล้ชิดกันเกินไป และอยู่ในสถานที่อากาศไม่ถ่ายเท
ข้อดีของการตรวจ COVID-19 กับ Rapid Test
ใช้งานง่าย ทราบผลใน 15-30 นาที
ทราบผลได้ไวจึงทำให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
ใช้คัดกรองเบื้องต้น เพื่อลดปัญหาความแออัดจากการรอตรวจเชื้อที่โรงพยาบาล
เมื่อเปรียบเทียบกับการตรวจแบบ RT-PCR ถือว่ามีค่าบริการที่ต่ำกว่า
RT-PCR
Swab จมูก กระพุ้งแก้ม จะแม่นยำที่สุด เป็นวิธีสุดท้ายที่ใช้ยืนยัน ในการตรวจหาเชื้อ Covid-19
ระยะเวลารอผล 2-3 วัน
วิธี RT-PCR ตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อ
เก็บตัวอย่างจาก สารคัดหลั่งจมูก และคอ
*การตรวจด้วยวิธี RT-PCR เพื่อหาเชื้อโควิด เป็นวิธีตรวจที่มีความแม่นยำสูงกว่าวิธี Rapid test
Real-time RT PCR
วิธีแรกเป็นการตรวจสารพันธุกรรมของไวรัสด้วยวิธี Real-time RT PCR ซึ่งเป็นวิธีที่องค์การอนามัยโลกแนะนำและประเทศไทยพร้อมใช้อยู่ในปัจจุบัน องค์การอนามัยโลกแนะนำ การตรวจด้วยวิธีนี้มีข้อดีคือ มีความไว มีความจำเพาะสูง และสามารถตรวจจับเชื้อไวรัสในปริมาณน้อยๆ ได้
ดังนั้นไม่ว่าจะเชื้อไวรัสนั้นคือเชื้อเป็นหรือเชื้อตาย ก็สามารถตรวจจับได้หมดจากสารคัดหลั่งทางเดินหายใจส่วนบน ส่วนล่าง ของผู้สงสัยติดเชื้อ ถือว่าเป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคเพื่อการรักษาที่รวดเร็ว ตั้งแต่ระยะแรกของการเกิดโรค
ข้อมูลการทดสอบด้วยวิธี RT-PCR
การทดสอบด้วยวิธี RT-PCR เป็นการตรวจสอบสารพันธุกรรมของเชื้อ SARS-CoV-2 ในตัวอย่างหลาย ๆ ประเภทเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคโควิด-19 การทดสอบด้วยวิธี RT-PCR จะแสดงผลการทดสอบเป็นผลบวกหรือผลลบแบบ 100% สำหรับตัวอย่างการทดสอบทั้งหมด และไม่มีปฏิกิริยาข้ามกันกับเชื้อไวนัสโคโรน่าอื่น ๆ ที่แพร่กระจายอยู่ทั่วไป
ข้อดีของการทดสอบด้วยวิธี RT-PCR:
สามารถตรวจจับเชื้อไวรัสในปริมาณน้อย ๆ ได้ เหมาะสำหรับการวินิจฉัยโรคในระยะเริ่มต้น และสามารถใช้เพื่อติดตามผลการรักษาได้
การตรวจหาภูมิคุ้มกันด้วยชุดทดสอบแบบรวดเร็ว เป็นการเจาะเลือดเพื่อเพื่อตรวจคัดกรองไวรัสและภูมิคุ้มกันเบื้องต้น สามารถทำได้หลังมีอาการป่วย 5-7 วัน หรือได้รับเชื้อมาแล้ว 10-14 วัน หากตรวจในช่วงเวลานอกเหนือจากนั้นอาจส่งผลให้ผลตรวจเกิดความไม่แม่นยำได้
วินิจฉัยโรคเพื่อการรักษา
ออกใบรับรองแพทย์เพื่อข้ามพรมแดน หรือบินไปต่างประเทศ Fit to Fly Certificate
Antibody Level Test
แบบเจาะเลือด (Antibody) ใช้บ่งชี้ได้ว่าเคยติดเชื้อ และเริ่มหายดี จนมีภูมิคุ้มกัน ระยะเวลารอผล 2-3 วัน
ตรวจหาภูมิคุ้มกันโควิด-19
(Covid19 Antibody Level Test)
คือ เป็นการตรวจเลือดเพื่อหาระดับภูมิต้านทานต่อเชื้อ SARS-CoV2 ในส่วนของ Spike Protein ที่เป็นส่วนสำคัญในการนำเชื้อเข้าสู่เซลล์ และทำให้เกิดการติดเชื้อ เมื่อร่างกายได้รับเชื้อหรือวัคซีน ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย จะสร้างภูมิต้านทานขึ้นเพื่อต่อต้านเชื้อ หากระดับของภูมิต้านทานที่มากพอ จะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อ และลดความรุนแรงของโรคได้
ใครบ้างที่ควรตรวจ และทำไมต้องตรวจหาภูมิคุ้มกัน
ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วตรวจเพื่อติดตามการตอบสนองของระบบภูมิต้านทานหลังจากได้รับวัคซีน ซึ่งส่วนใหญ่จะตรวจเมื่อได้รับวัคซีนครบแล้ว 4 สัปดาห์ขึ้นไป ภูมิคุ้มกันจากการฉีดอยู่ที่ประมาณ 2 สัปดาห์ขึ้นไปหลังฉีด และภูมิที่เพิ่มขึ้นอาจค่อย ๆ ลดลงและต้องทำการฉีดวัคซีนอีกครั้ง เป็นการกระตุ้นร่างกายจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันโควิด ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 เพื่อตรวจหาระดับภูมิต้านทานก่อนรับวัคซีน ในกรณีสงสัยว่าอาจเคยได้รับเชื้อแบบไม่มีอาการมาก่อน และอาจมีภูมิต้านทานตามธรรมชาติแล้ว
ฉีดวัคซีนแล้ว มีภูมิคุ้มกันแต่จะยังมีโอกาสติดเชื้อ แต่ถ้าหากติดเชื้อ อาการจะไม่หนักเท่ากับผู้ที่ไม่ได้ฉีด
การตรวจเพื่อให้ทราบระดับของภูมิต้านทานที่เกิดขึ้น แต่ไม่ยืนยันว่าจะป้องกันการติดเชื้อได้ 100% ดังนั้นการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการติดเชื้อด้วยวิธี การสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ และรักษาระยะห่างยังคงต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อของโรค COVID-19
ตรวจภูมิคุ้มกันโควิด (COVID-19 Antibody Level Test) คือ การตรวจหาระดับภูมิต้านทานชนิด IgG,IgM (Total antibody) ที่มีต่อเชื้อ SARS-CoV2 บริเวณหนามโปรตีน (Spike Protein) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการนำเชื้อโควิดเข้าสู่เซลล์ในร่างกาย และทำให้ติดเชื้อโควิด
ตรวจภูมิคุ้มกันโควิด
ตรวจภูมิคุ้มกันโควิด ค่าการตรวจบอกอะไร
สำหรับผู้ที่เคยติดเชื้อหรือได้รับวัคซีนแล้ว เมื่อเวลาผ่านไปภูมิคุ้มกันโควิดในร่างกายอาจจะค่อย ๆ ลดลง ทำให้ทราบว่าควรกระตุ้นภูมิด้วยการฉีดวัคซีนเมื่อใด โดยระดับภูมิคุ้มกันจะแสดงผลเป็นค่าตัวเลข
≥ 0.8 U/mL ตรวจพบภูมิคุ้มกันโควิดตอบสนอง แม้ว่าจะพบภูมิคุ้มกัน แต่ยังมีโอกาสติดเชื้อโควิดและแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ ดังนั้นจึงควรปฏิบัติตามแนวทางป้องกันการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด
< 0.8 U/mL ตรวจพบภูมิคุ้มกันโควิดไม่ตอบสนอง แม้รับวัคซีนครบโดสแล้ว ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น เก็บตัวอย่างก่อนร่างกายสร้างภูมิ มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ชนิดของวัคซีน และการตอบสนองของร่างกายในแต่ละบุคคล
ใครตรวจภูมิคุ้มกันโควิดได้บ้าง
ผู้ที่เคยติดเชื้อมาก่อน สามารถเข้ารับการตรวจภูมิคุ้มกันได้หลังติดเชื้อมาแล้วประมาณ 4 สัปดาห์
ผู้ที่สงสัยว่าเคยติดโควิดแต่ไม่แสดงอาการ
ผู้ที่กำลังจะได้รับวัคซีน
ผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้ว สามารถเข้ารับการตรวจภูมิคุ้มกันได้หลังฉีดวัคซีนแล้วประมาณ 4 สัปดาห์ แต่ไม่ควรเกิน 3 เดือน
แล้วจำเป็นแค่ไหนที่ต้องตรวจภูมิคุ้มกันโควิด
การตรวจภูมิคุ้มกันโควิดเป็นเพียงทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการทราบภูมิคุ้มกันหลังรับวัคซีน หรือคิดว่าตนเองอาจเคยติดเชื้อโควิดแล้ว แต่ไม่แสดงอาการ ซึ่งการตรวจภูมิคุ้มกันนี้สามารถวินิจฉัยการติดเชื้อได้ โดยสามารถใช้ร่วมกับวิธีตรวจแบบ real-time RT PCR เพื่อเพิ่มความแม่นยำมากขึ้น อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อมูลบ่งชี้ถีงระดับภูมิคุ้มกันที่สัมพันธ์กับการป้องกันการติดเชื้อโควิด
ก่อนตรวจภูมิคุ้มกันโควิดต้องเตรียมตัวอย่างไร
ไม่ต้องงดอาหารและน้ำ
เจาะเลือดจากเส้นเลือดดำ 1 หลอด ไม่เกิน 3-5 ml